กิจกรรม12พฤศจิกายน8-12

กิจกรรม 12 พฤศจิกายน 2553

สืบค้นข้อมูล

ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=38529


ส่วนรอยเลื่อน ที่น่าจับมอง คือรอยเลื่อนสะแกง หรือสะเกียงในประเทศพม่า เพราะรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนแขนงของลอยเลื่อนสะแกง เพราะมีเขื่อนศรีนครินทร์ตั้งอยู่ โดยในปี 2526 เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ประมาณ 60 กม.แต่ไม่ได้ส่งผลเสีย และสร้างความเสียหายกับเขื่อน ดังนั้น ควรต้องมีแผนป้องกันภัย แผนเตือนภัย แผนอพยพ และแผนจัดการ เมื่อเกิดภัยพิบัติ นอกจากนี้ ยังรวมถึงรอยเลื่อนในภาคเหนือของไทยด้วย ส่วนรอยเลื่อนขนาดใหญ่นอกประเทศนอกจากรอยเลื่อนสะแกงแล้ว ยังมีรอยเลื่อนแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ถือว่าประเทศไทยโชคดีที่บรรพบุรุษเลือกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดแผ่นดิน ไหวค่อนข้างต่ำสำหรับรอย เลื่อนในประเทศไทยที่มีพลังอยู่มี 13 กลุ่ม ประกอบด้วย รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง ครอบคลุมจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุมแม่ฮ่องสอน และตาก รอยเลื่อนเมย ครอบคลุมตากและกำแพงเพชร รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม เชียงใหม่, ลำพูน และเชียงราย รอยเลื่อนเถิน ครอบคลุมลำปาง และแพร่ รอยเลื่อนพะเยา ครอบตอบข้อ 2 พม่า
สืบค้นข้อมูล

ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีปต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร์ แม้ว่าบางคนเชื่อว่าในโลกมีทวีปอยู่ 4-5 ทวีป แต่ส่วนใหญ่จะนับได้ 6-7 ทวีปการแบ่งทวีปที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดการขัดแย้งกันอยู่ 2 กรณีใหญ่ ๆ คือ ทวีปยุโรปกับเอเชียควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปยูเรเชีย (Eurasia) และทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปอเมริกาใต้ควรแยกกันหรือ
(British Isles) จึงเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป บางครั้งจะพบว่ามีการใช้คำว่า โอเชียเนีย (Oceania) โดยหมายถึงประเทศออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งประเทศนิวซีแลนด์. นักภูมิศาสตร์บางท่าน (ส่วนน้อย) คิดว่าควรรวมยุโรป เอเชีย และแอฟริกา เป็นทวีปยูราเฟรเชีย (Eurafrasia) (ดู ทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย)





สืบค้นข้อมูล



เกิดแผ่นดินไหวในอดีตที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตนับแสนคนในประเทศที่อยู่นในเขตแผ่นดินไหว เช่นจีนและญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินครั้งล่าสุดที่เมืองโกเบประเทศญึ่ปุ่นได้เกิดความเสียหายรุนแรงต่ออาคารบ้านเรือนทางด่วนและระบบสาธารณูปโภคมากกว่าที่คาดไว้ แม้ว่าจะได้ออกแบบก่อสร้าง ให้เผื่อแรงแผ่นดินไหวตามกฎหมายที่บังคับไว้แล้วก็ตามประเทศไทยถึงจะไม่ได้อยู่ในบริเวณแผ่นดินไหวใหญ่ของโลกแต่จากการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายครั้งโดยมีศูนย์กลางทั้งในและนอกประเทศบางครั้งส่งแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้โดยทั่วไป และเกิดความเสียหายเล็กน้อยแก่อาคารเช่น แผ่นดินไหวเมื่อวันที่17กุมภาพันธ์ 2518ขนาด5.6 ริคเตอร์ที่จังหวัตตาก เมื่อวันที่  22 เมษายน 2526 ขนาด 5.9 ริคเตอร์ที่จังหวัดกาญจนบุรีและครั้งล่าสุดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2537 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ ที่จังหวัดเชียงรายได้ทำให้อาคารโรงพยาบาลพานเสียหายหนักถึงขึ้นระงับการใช้อาคารโรงเรียนและวัดหลายแห่งเสียหายเล็กน้อย จนถึงเสียหายปานกลางปัจจุบันประเทศไทย ได้มีการก่อสร้างอาคารสูงและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มากมายตลอดจนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และจำนวนประชากรของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยมีอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดภัยจากแผ่นดินไหวสูงขึ้น
สาเหตุของแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากแรงเครียดภายในโลกซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่ต่างกันอย่างมากระหว่างเปลือกโลก และหินหลอมภายในโลกเมื่อแรงนี้กระทำต่อหินแข็งภายในโลกจะทำให้หินแตกออกเป็นแนว เรียกว่า แนวรอยเลื่อน(Fault)เมื่อรอยเลื่อนนี้ขยับตัวก็จะปล่อยพลังงานออกมาอยู่ในรูปของการสั่นไหว ซึ่งก็คือแผ่นดินไหวนั่นเองโดยปรกติรอยเลื่อนจะอยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลกไม่ปรากฎให้เห็นที่ผิวดินแต่มีเหมือนกันที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน เช่น รอยเลื่อนชานแอนเดรสที่แคลิฟอร์เนียบริเวณรอยเลื่อนเคลื่อนตัวนี้จะเป็นที่รวมของศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากมาย ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่คาดว่ายังมีการเคลื่อนตัวอยู่ในภาคตะวันตกและภาคเหนือของประเทศ เช่น รอยเลื่อนเมย - อุทัยธานี รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนแม่ทาและ รอยเลื่อนเหล่านี้จำเป็นต้องมีการศึกษาลักษณะการเคลื่อนตัวตลอดจนโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีกและขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดที่ควรจะเกิดในแต่ละรอยเลื่อนเพื่อการวางแผนป้องกันภัยอันอาจจะเกิดขึ้น ในบริเวณที่มีอัตราเสื่ยงต่อแผ่นดินไหวสูงเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นพื้นดินจะถูกรบกวนและเคลื่อนออกจากจุดกำเนิดในรูปของคลื่นความสั่นสะเทือนเหมือนกับการโยนกรวดลงในน้ำพื้นน้ำจะถูกคลื่นพัดพาไปเป็นระลอกจนกระทบฝั่งคลื่นแผ่นดินไหวก็เช่นเดียวกันจะคลื่นที่ไปจนกระทั่งพลังงานหมดไปฉะนั้นถ้าเรามีเครื่องมือที่มีความไวพอก็สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวในระยะห่างไกลได้เครื่องตรวจแผ่นดินไหวนี้จะมีประโยชน์ในการหาตำแหน่ง ขนาดและความลึกของแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งได้หากมีสถานีตรวจเกินสามแห่งขึ้นไปปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยามีสถานีตรวจแผ่นดินที่มา http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=11&ID=289
ตอบข้อ 1


ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) หมายถึง ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่ และอาจจะระเบิดอีก โดยมีประวัติการระเบิดไม่เกิน 10,000 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ทั่วโลกยังภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก เป็นภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา(Mount Etna) ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีบนเกาะซิชิลี ห่างจากเมืองกาตาเนียเพียง 29 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 3,32เมตร
ตอบข้อ2





สืบค้นข้อมูล
ดาวฤกษ์(Stars)
ดาวฤกษ์เป็นกลุ่มก้อนก๊าซที่อยู่ภายใต้อุณหภูมิสูง แหล่งพลังงานของดาวฤกษ์อยู่ในใจกลาง
ของดวง ดาวอันเกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ทำให้ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัว
เองดาวฤกษ์เป็นดาว ที่อยู่ไกลจากโลกมาก แสงจากดาวฤกษ์ต้องใช้เวลาเดินทางอันยาวนาน
เป็นปี กว่าจะมาถึงโลกได้ ดาวฤกษ์ที่เราเห็นอยู่ในคืนวันนี้อาจเป็นดวงดาวแห่งอดีตกาล
เพราะดาวฤกษ์นั้นอาจแตกดับไปแล้วก็ได้ เหลือเพียงแสงที่วิ่งมายังโลกเท่านั้น แสงจากดาวฤกษ์
ที่วิ่งลงมาต้องผ่านชั้นบรรยากาศของโลกทำให้แสง ที่ผ่านเข้ามาเกิดการหักเหและดาวฤกษ์อยู่ไกลมาก ลำแสงของดาวฤกษ์จึงเป็นลำแสงที่เล็กมากเมื่อเทียบ กับลำแสงจากดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กว่า จึงทำให้คนบนโลกมองเห็นดาวฤกษ์มีแสงกระพริบระยิบระยับ


การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์
จากการศึกษาโดยละเอียดพบว่าดาวฤกษ์แต่ละดวงมีการเคลื่อนที่ไปในอวกาศในทิศทางที่ต่างกันด้วย ความเร็วที่ต่างกัน แต่มันอยู่ห่างไกลจากดลกมาก คนบนโลกจึงไม่สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ของดาวฤกษ์แต่ละดวง แต่จะเห็นมันเคลื่อนที่ไปพร้อมกันทั้งระบบบนท้องฟ้า ทำให้รักษาระยะห่างระหว่าง กันเท่าเดิมเสมอจึงเห็นดาวฤกษ์ไม่เคลื่อนที่เราเรียกว่าดาวประจำที่ ในการใช้ดาวเป็นตัวบอกตำแหน่งบนพื้นโลกมักใช้ดาวเหนือ(Polestar หรือ Polaris)เป็นตัว บอกตำแหน่ง การหาดาวเหนือทำได้โดยต่อเส้นสมมติแทนแกนหมุนของโลกจากขั้วโลกเหนือพุ่งขึ้นไปสู่ ท้องฟ้า แนวแกนสมมตินี้จะผ่านดาวฤกษ์ที่มา  http://www.wt.ac.th/~somyos/earth501.html
 ตอบข้อ 4


สืบค้นข้อมูล
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ตอบข้อ  2



สืบค้นข้อมูล

 ภาสุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน โดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เงาของดวงจันทร์จะทอดมายังโลก ทำให้คนบนโลก (บริเวณเขตใต้เงามืดของดวงจันทร์) มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง หรือบางแห่งเห็นดวงอาทิตย์มืดหมดทั้งดวง ช่วงเวลาที่เกิดสุริยุปราคาจะกินเวลาไม่นานนัก เช่น เมื่อวันที่ 24 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 ประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้นาน 3 ชั่วโมง นับตั้งแต่ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าจนเคลื่อนออก สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลากลางวันและตรงกับวันแรม 15 ค่ำ หรือวันขึ้น 1 ค่ำ เท่านั้น ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ในเขตใต้เงามืดของดวงจันทร์จะมองเห็นดวงอาทิตย์มืดมิดทั้งดวงเรียกว่า สุริยุปราคาเต็มดวง ท้องฟ้าจะมืดไปชั่วขณะ ในขณะที่ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังไปบางส่วน เรียกว่า สุริยุปราคาบางส่วน สำหรับการเกิดสุริยุปราคาในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าปกติ ทำให้เงามืดของดวงจันท์ทอดตัวไปไม่ถึงพื้นโลก แต่ถ้าต่อขอบของเงามืดออกไปจนสัมผัสกับพื้นผิวโลกจะเกิดเป็นเขตเงามัวขึ้น ตำแหน่งที่อยู่ยใต้เขตเงามัวนี้จะมองเห็นสุริยุปราคาวงแหวนดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์
ที่มา 
http://learning.eduzones.com/montra/2852
ตอบข้อ  2




สืบค้นข้อมูล
สถานีอวกาศนานาชาติ (อังกฤษ: International Space Station; ISS) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 และมีแผนดำเนินการเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2011 ขณะที่การปฏิบัติการจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2015 หรืออาจเป็นไปได้ถึงปี ค.ศ. 2020เราสามารถมองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลกนับถึงปี ค.ศ. 2009 สถานีอวกาศแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ในวงโคจรของโลก โดยมีมวลมากกว่าสถานีอวกาศที่เคยสร้างมาก่อนหน้านี้ทั้งหมดสถานีอวกาศนานาชาติทำหน้าที่เป็นห้องทดลองวิจัยอย่างถาวรในอวกาศ ทำการทดลองด้านต่าง ๆ ได้แก่ ชีววิทยา ชีววิทยามนุษย์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ และ อุตุนิยมวิทยา ซึ่งต้องอาศัยการทดลองในสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงน้อยมากๆ สถานีอวกาศแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสถานที่ทดสอบสำหรับระบบกระสวยอวกาศที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สำหรับปฏิบัติการระยะยาวเพื่อการไปสู่ดวงจันทร์และดาวอังคาร การทดลองและการบริหารสถานีอวกาศนานาชาติดำเนินการโดยคณะนักบินอวกาศซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในระยะยาว สถานีเริ่มปฏิบัติการที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4
ตอบข้อ  3


สืบค้นข้อมูล
กระสวยอวกาศ (อังกฤษ: space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศ ทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้งกระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North
American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท RockwellInternational. สำหรับกระสวยอวกาศขอสหภาพโซเวียต มีชื่อว่า บูราน (Buran - Бура́н แปลว่า พายุหิมะ) ปัจจุบันล้มเลิกโครงการไปแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ในสมัยประธานาธิบดีโบริส เยลท์ซิน เนื่องจากมีต้นทุนสูง และประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากปฏิบัติการเพียงหนึ่งครั้ง ใช้เวลาในอวกาศเพียง 3 ชั่วโมงที่มากระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดยตลอดส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลักนอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB ก็หมด และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักก็หยุด และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าก็ตกลงทะเลเครื่องยนต์ของจรวดสองลำก็รับภาระต่อไป ซึ่ง
เรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจรเมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และมันก็จะออกจากการโคจรของมัน จะกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนในการกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตร ต่อวินาทีหรือ 1 ปีแสงทุก 1400ปี
ตอบข้อ 3

1 ความคิดเห็น: